Claude Monet
Claude Monet (né Oscar-Claude Monet le 14 novembre 1840 à Paris et mort le 5 décembre 1926 (à 86 ans) à Giverny), est unpeintre français, l’un des fondateurs de l'impressionnisme, peintre de paysages et de portraits.
Né à Paris, il grandit au Havre et est particulièrement assidu au dessin. Il commence sa carrière d'artiste en réalisant des portraits à charge des notables de la ville. En 1859, il part à Paris tenter sa chance sur conseil d'Eugène Boudin et grâce à l'aide de sa Tante. Après des cours à l'académie Suisse puis chez Charles Gleyre et la rencontre de Johan Barthold Jongkind, le tout entrecoupé par le service militaire en Algérie, Monet se fait remarquer pour ses peintures de la baie d'Honfleur. En 1866, il connait le succès au Salon de la peinture grâce à La Femme en robe verte représentant Camille Doncieux qu'il épouse en 1870. Toute cette période est cependant marquée par une grande précarité. Il fuit ensuite la guerre de 1870 à Londres puis aux Pays-Bas. Dans la capitale anglaise, il fait la rencontre du marchand d'art Paul Durand-Ruel qui sera sa principale source de revenu pendant le reste de sa carrière. Revenu en France, la première exposition des futurs impressionnistes à lieu en 1874.
En 1876, il rencontre Ernest Hoschedé, un mécène qui va rapidement faire faillite. En 1878, ce dernier, sa famille et celle de Monet aménage dans une maison commune à Vétheuil. La mort de Camille en 1879 et les nombreuses absences d'Ernest, conduisent au rapprochement de Monet avec Alice Hoschedé. En plus de peindre intensivement la Seine, Claude se rend régulièrement sur la côte Normande pour peindre. En 1883, lui et la famille Hoschedé déménage définitivement à Giverny. Ce déménagement correspond environ à la fin des ennuis financiers, Monet devenant même fortuné à la fin de son existence. Monet ne se montre cependant pas particulièrement généreux avant ses toutes dernières années. Après l'emménagement, il effectue un séjour àBordighera, sur la côte d'azur puis à Belle-Île-en-Mer.
À partir de 1890, Monet se consacre à des séries de peintures, c'est-à-dire qu'il peint le même motif à différentes heures de la journée, à diverses saisons. Il peint alors parfois des dizaines de toiles en parallèle, changeant en fonction de l'effet présent. Il commence par les Meules, puis réalise Les Peupliers, la Série des Cathédrales de Rouen, celle des Parlements de Londres et Les Nymphéas de son jardin, qu'il décline en grande format pour peindre les grandes décorations. En effet, depuis 1903, Monet s'adonne intensivement au jardinage. En 1908, il peint également à Venise mais sans faire de série.
La fin de sa vie est marquée par le décès d'Alice et d'une cataracte qui affecte son travail. Il s'éteint à 86 ans d'une infection pulmonaire.
Monet peint devant le modèle sur l'intégralité de sa toile dès les premières ébauches, il retouche ensuite de nombreuses fois jusqu'à ce que le résultat le satisfasse. Contrairement à ce qu'il affirme, il termine la plupart de ses toiles en atelier, prenant modèle sur les premières peintures d'une série pour peindre les autres.
D'un caractère parfois difficile, prompt à la colère comme au découragement, Claude Monet est un grand travailleur qui n'hésite pas à défier la météo pour pratiquer sa passion. Monet résume sa vie ainsi de la meilleure manière : « Qu'y-a-t-il à dire de moi ? Que peut-il y avoir à dire, je vous le demande, d'un homme que rien au monde n'intéresse que sa peinture - et aussi son jardin et ses fleurs ».
Famille
- Claude Monet épouse en 1870 en premières noces, Camille Doncieux (1847–1879), avec qui il a deux enfants :
- Jean Monet (1867–1914), épouse en 1897 Blanche Hoschedé, sans postérité ;
- Michel Monet (1878-1966), sans postérité.
Monet n’a donc eu aucune postérité directe.
- Il épouse le 16 juillet 1892 en secondes noces Alice Hoschedé (1844–1911), qui a déjà six enfants de son premier mariage avec Ernest Hoschedé ; ces six enfants ne sont pas de Claude Monet (sauf peut-être le dernier, Jean-Pierre), mais celui-ci les élève :
- Marthe Hoschedé (1864–1925), épouse en 1900 Theodore Earl Butler (1861–1936), sans postérité ;
- Blanche Hoschedé (1865–1947), épouse en 1897 Jean Monet (1867–1914), sans postérité ;
- Suzanne Hoschedé (1868–1899), épouse en 1892 Theodore Earl Butler (1861–1936), deux enfants ;
- Jacques Hoschedé (1869–1941), épouse en 1896 une Norvégienne ;
- Germaine Hoschedé (1873–1968), épouse en 1902 Albert Salerou, et postérité ;
- Jean-Pierre Hoschedé (1877–1960), parfois dit fils naturel de Claude Monet, épouse en 1903 Geneviève Costaddau ; il a un fils, Maurice (1919–1977), et descendance, notamment l’animatrice de télévision Dorothée (1953).
โกลด มอแน
โกลด มอแน (ฝรั่งเศส: Claude Monet) หรือ อ็อสการ์-โกลด มอแน (Oscar-Claude Monet; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1926) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ และเป็นจิตรกรคนสำค้ญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีความสำคัญในการเป็นผู้ริเริ่มศิลปะอิมเพรสชันนิสม์และมีบทบาทสำคัญในปรัชญาและการปฏิบัติของขบวนการนี้ ซึ่งเป็นการวาดภาพจากความประทับใจในสิ่งที่เห็นของผู้วาด (perception) แทนที่จะพยายามทำให้เหมือนจริงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในจิตรกรรมภูมิทัศน์ (Landscape painting) คำว่า “Impressionism” มาจากชื่อภาพเขียนของมอแนเองชื่อ “Impression, Sunrise” (ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น)
ชีวิตเบื้องต้น
มอแนเกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 บนชั้น 5 ของบ้านเลขที่ 45 ถนนเลออาฟวร์ตเขต 9 ในปารีส เป็นลูกชายคนที่สองของโกลด อาดอลฟ์ และลุย จุสตีน โอเบรผู้เป็นนักร้อง ทั้งสองคนเป็นชาวปารีสชั่วคนที่สอง มอแนรับศึลจุ่มเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมปีต่อมาที่วัดนอเทรอดามเดอโลเร็ต ในชื่อ อ็อสการ์ โกลด เมื่อปี ค.ศ. 1845, ครอบครัวของมอแนย้ายไปเมืองเลออาฟวร์ (Le Havre) ในนอร์มังดีทางเหนือของฝรั่งเศส พ่อของมอแนอยากให้มอแนทำกิจการร้านขายของชำของครอบครัวแต่มอแนอยากเป็นศิลปิน
เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1851 มอแนก็เข้าเรียนศิลปะที่โรงเรียนมัธยมศิลปะที่เลออาฟวร์ และเป็นที่รู้จักกันในฝีมือการเขียนรูปการ์ตูน (caricature) ด้วยถ่านที่มอแนขายในราคา 10 ถึง 20 ฟรังส์ นอกจากนั้นมอแนก็ยังเรียนการเขียนภาพเป็นครั้งแรกกับฌัก-ฟร็องซัว โอชารด์ (Jacques-François Ochard) ผู้เป็นลูกศิษย์ของฌัก-หลุยส์ ดาวิด (Jacques-Louis David) ระหว่างปี ค.ศ. 1856-1857 มอแนพบยูจีน บูแดง (Eugène Boudin) ผู้เป็นจิตรกรและผู้ที่มอแนถือว่าเป็นครูและเป็นผู้สอนให้มอแนวาดภาพด้วยด้วยสีน้ำมัน และสอนวิธีวาดภาพ “นอกสถานที่” (en plein air)
แม่ของมอแนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1857 เมื่อมอแนอายุได้ 16 มอแนก็ลาออกจากโรงเรียนไปอยู่กับน้ามารี จอง เลอคาเดร (Marie-Jeanne Lecadre) ผู้เป็นแม่ม่ายและไม่มีลูกของตนเอง
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย อิมเพรสชันนิสม์ และอาร์ฌ็องเตย
หลังจากเกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 มอแนก็ลี้ภัยไปอยู่อังกฤษเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1870 ขณะที่อยู่ที่นั่นมอแนก็ศึกษางานภาพภูมิทัศน์ของ จอห์น คอนสเตเบิล (John Constable) และ โจเซฟ มัลลอร์ด วิลเลียม เทอร์เนอร์ (Joseph Mallord William Turner) ซึ่งมามีอิทธิพลต่อการศึกษาเรื่องการใช้สี เมื่อฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1871 ทางราชสถาบันศิลปะ (Royal Academy) ไม่ยอมแสดงผลงานของมอแน
เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1871 มอแนก็ย้ายจากลอนดอนไปซานดาม (Zaandam) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่มอแนเขียนภาพ 25 ภาพ (เป็นที่ที่ตำรวจสงสัยว่ามอแนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ) จากซานดามมอแนก็มีโอกาสไปอัมสเตอร์ดัมซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก ประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1871 มอแนก็ย้ายกลับปารีส ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1871 ถึง ค.ศ. 1878 มอแนอาศัยอยู่ที่อาร์ฌ็องเตย (Argenteuil) ซึ่งเป็นหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำเซนใกล้ปารีส และเป็นที่ที่มอแนวาดภาพที่กลายมาเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของมอแน และเป็นภาพที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายหลายภาพ ในปี ค.ศ. 1874 มอแนกลับไปเนเธอร์แลนด์อยู่ระยะหนึ่ง
ประมาณปี ค.ศ. 1872 หรือ 1873 มอแนวาดภาพ “Impression, Sunrise” (Impression: soleil levant—ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น) ซึ่งเป็นภาพภูมิทัศน์ของเลออาฟวร์ ภาพนี้ตั้งแสดงที่งานนิทรรศการศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1874 ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-มอแน ที่ปารีส หลุยส์ เลอรอยนักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำ “อิมเพรสชันนิสม์” จากชื่อภาพในการบรรยายศิลปะลักษณะนี้อย่างเยาะๆ แต่จิตรกรอิมเพรสชันนิสม์นิยมคำและเริ่มใช้เรียกตัวเอง
มอแนและกามีย์ ดองโซแต่งงานกันเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1870 ไม่นานก่อนเกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย พอปี ค.ศ. 1876 กามีย์ก็เริ่มป่วย หลังจากมีมิเชลลูกคนที่สองเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1878 สุขภาพของกามีย์ก็เสื่อมลง ในที่สุดก็เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 32 ปีด้วยวัณโรคเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1879 มอแนวาดภาพกามีย์บนเตียงที่กามีย์นอนป่วย
ตัวอย่างภาพเขียนสมัยแรก
“ลุ่มแม่น้ำเซนกับอาร์ฌ็องเตย” (Seine Basin with Argenteuil) – ค.ศ. 1875, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ,ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส |
“เวทุยในหมอก” (Vétheuil in the Fog) – ค.ศ. 1879, พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-มอแน, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส “ผู้หญิงในสวน” (Woman in a Garden) – ค.ศ. 1867, พิพิธภัณฑ์เฮอร์มืทาจ, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ชีวิตสมัยหลัง
หลังจากมอแนโศกเศร้ากับการตายของกามีย์อยู่หลายเดือนมอแนก็สัญญากับตนเองว่าจะไม่ยอมเป็นทาสความยากไร้อีก โดยเริ่มเขียนภาพจริงๆ จังๆ และสร้างงานที่ดึที่สุดของตนเองของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อต้นคริสต์ทศศตวรรษ 1880 มอแนก็วาดภาพภูมิทัศน์ของชนบทฝรั่งเศสด้วยความตั้งใจที่จะทำเป็นหลักฐานของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เกิดการวาดภาพเป็นชุดหลายชุดที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์ของชนบทฝรั่งเศส
ภาพชุดพอพพลา
เมื่อปีค.ศ. 1878 มอแนและกามีย์ย้ายไปอยู่ที่บ้านของเอิร์นเนส โอเชด (Ernest Hoschedé) เป็นการชั่วคราว โอเชดเป็นเจ้าของร้านสรรพสินค้าผู้มีฐานะและเป็นผู้อุปถัมป์ศิลปิน สองครอบครัวนี้ก็อยู่ด้วยกันที่เวทุย (Vétheuil) ระหว่างหน้าร้อน หลังจากที่เอิร์นเนสล้มละลายและย้ายไปประเทศเบลเยียมเมื่อปีค.ศ. 1878 และหลังจากที่กามีย์เสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 มอแนก็ยังคงอาศัยอยู่ที่เวทุย โดยมีอลิซ ภรรยาของเอิร์นเนส โอเชดก็ช่วยมอแนดูแลบุตรชายสองคน อลิซนำลูกของมอแนไปเลี้ยงร่วมกับลูกของอลิซเองอีก 6 คนที่ปารีสอยู่ระยะหนึ่ง[12] ก่อนที่จะย้ายกลับมาเวทุยพร้อมกับลูกๆ อีกครั้งเมื่อปีค.ศ. 1880 ในปีค.ศ. 1881 ทั้งสองครอบครัวก็ย้ายไปปอยซี (Poissy) ซึ่งเป็นที่ที่มอแนไม่ชอบ จากหน้าต่างรถไฟระหว่างแวร์นองและกาสนีมอแนก็พบจิแวร์นีย์ (Giverny) ในนอร์มังดี ในเดือนเมษายนปีค.ศ. 1883 มอแนก็ย้ายไปแวร์นองและต่อมาจิแวร์นีย์ ซึ่งเป็นที่ที่มอแนทำสวนขนาดใหญ่และเป็นที่ที่มอแนเขียนภาพตลอดในบั้นปลายของชีวิต หลังจากเอิร์นเนสเสียชีวิต อลิซก็แต่งงานกับมอแนเมื่อปีค.ศ. 1892
อลิซและลูกชายคนโตของมอแนผู้แต่งงานกับแบลนช์ ลูกสาวคนโตของอลิซเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1911 หลังจากนั้นแบลนช์ก็ดูแลมอแน ระหว่างนี้มอแนก็เริ่มเป็นต้อ
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งลูกชายคนที่สองเป็นทหารและจอร์จ เคลมองโซ (Georges Clemenceau) ผู้เป็นเพื่อนและผู้นำฝรั่งเศส มอแนเขียนภาพชุด “วิลโลร้องไห้” (Weeping Willow) เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวฝรั่งเศสผู้เสียชีวิตในสงคราม มอแนได้รับการผ่าตัดต้อสองครั้งในปี ค.ศ. 1923 ต้อของมอแนมีผลต่อสีของภาพเขียนๆ ระหว่างที่เป็นต้อจะออกโทนแดงซึ่งเป็นลักษณะของผู้เป็นต้อ นอกจากนั้นมอแนยังสามารถมองเห็นคลื่นแสงอัลตราไวโอเล็ทที่ตาปกติจะมองไม่เห็นซึ่งอาจจะทำให้มีผลต่อการเห็นสีของมอแน หลังจากผ่าตัดแล้วมอแนก็พยายามทาสีบางภาพใหม่ เช่นภาพชุดดอกบัวที่เป็นสีน้ำเงินกว่าเมื่อก่อนได้รับการผ่าตัด
ตัวอย่างภาพเขียนสมัยหลัง
“พอพพลาบนฝั่งน้ำเอพ” (Pappeln on the Epte) – ค.ศ. 1900, พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์
“วังที่เวนิส” (Palace From Mula, Venice) – ค.ศ. 1908, พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา
“ภาพนิ่งกับดอกแอนนิโมนี” (Still-Life with Anemones) – ค.ศ. 1885, ภาพสะสมส่วนบุคคล, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
บั้นปลาย
มอแนเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่ปอดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1926 เมื่ออายุ 86 ปี ร่างของมอแนถูกฝังไว้ที่วัดที่จิแวร์นีย์ มอแนขอให้เป็นพิธีง่ายๆ ฉะนั้นจึงมีผู้ร่วมงานศพเพียง 50 คน
เมื่อปี ค.ศ. 1966 ลูกหลานของมอแนก็ยกบ้าน สวนและบึงบัวให้กับสถาบันศิลปะแห่งฝรั่งเศส (Academy of Fine Arts) ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 นอกจากสิ่งของของมอแนแล้ว ภายในบ้านยังเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ของญี่ปุ่น (Japanese woodcut prints) ที่มอแนสะสมด้วย
|
Crédit
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น